วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บุคคล

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บุคคล
บุคคล ทางกฎหมาย หมายถึง ผู้ซึ่งอาจมีหรืออยู่ภายใต้บังคับแห่ง สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย บุคคลตามกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.บุคคลธรรมดา และ 2.นิติบุคคล1.บุคคลธรรมดา เริ่มต้นเมื่อทารกออกมาจากครรภ์มารดาหมดทั้งตัว และอยู่รอดเป็นทารก คือ หัวใจเต้นหรือหายใจแม้เพียงเสี้ยววินาที แม้จะยังไม่ตัดสายสะดือก็ตาม ย่อมมีสภาพบุคคลนับแต่นั้น เมื่อมีสภาพบุคคลแล้ว สิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ก็ตามมา เช่น สิทธิที่จะได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาตามกฎหมาย(มาตรา1564 ตั้งแต่นี้จะเขียนเป็น ม.1564) สิทธิในการใช้ชื่อสกุลบิดา(ม.1561)สำคัญ ! สิทธิในร่างกายหรืออื่น ๆ เช่น มรดกซึ่งตนพึงได้รับเมื่อมีสภาพบุคคล หรือ สิทธิในผลประโยชน์อื่น บางประการซึ่งพึงได้รับหากทารกในครรภ์มีสภาพบุคคล เมื่อทารกได้คลอดและอยู่รอดเป็นทารกแล้ว ย่อมเรียกร้องสิทธิเหล่านั้นย้อนหลังไปได้ เช่น-บิดาเสียชีวิตในขณะที่ด.ช.แดง อยู่ในครรภ์มารดาได้3เดือน ดั่งนี้ ด.ช.แดง เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารกแล้ว ย่อมมีสิทธิในมรดกนั้น-นางขาว มารดาของด.ช.ดำ ถูก นายเขียวชกท้อง เป็นเหตุให้ด.ช.ดำซึ่งอยู่ในครรภ์มารดาขณะนั้น ได้รับความกระทบกระเทือน เมื่อคลอด ขาของด.ช.ดำ จึงพิการ ดังนี้ ด.ช.มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากนายเขียว ฐานละเมิดได้- การนับอายุบริบูรณ์ มีสูตรคิดดังนี้1.นำวันเกิด บวก 1 เสมอ2.เอาปีเกิดบวกด้วยอายุ3.เวลาเกิดนั้นจะเกิดเวลาไหนกฎหมายไม่สนใจ หากแต่เวลาที่อายุครบบริบูรณ์ คือ 0.00น.ตัวอย่าง นาย ก. เกิด21 มิถุนายน พ.ศ.2533 เกิดตอน9โมงเช้า จะมีอายุครบ20ปีบริบูรณ์เมื่อใดตอบ นาย ก. จะมีอายุครบ20ปีบริบูรณ์เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 0.00น.****กรณีไม่ทราบวัน เดือน ปีเกิด ย่อม เกิดปัญหาในการนับภูมิลำเนาของบุคคล ซึ่งหลักกฎหมายใน ปพพ.มิได้บัญญัติไว้ จึงอาศัยกฎหมายเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร มาใช้แก้ไขกรณีปัญหา ดังนี้1.ไม่ทราบวันเกิด แต่ทราบเดือนเกิด และปีเกิด เช่นนี้ให้ถือวันที่1ของเดือนนั้นเป็นวันที่เกิด2.ไม่ทราบวันเกิดและเดือนเกิดที่แน่นอน แต่ทราบปีเกิด กฎหมายให้ถือวันที่1 มกราคมของปีนั้นเป็นวันและเดือนเกิด3.ไม่ทราบทั้งวัน เดือน ปีเกิด กฎหมายให้พิจารณาจากรูปพรรณสัณฐานของบุคคลนั้นว่าควรมีอายุเท่าใด - ภูมิลำเนา วิธีพิจารณาว่าภูมิลำเนาอยู่ที่ใด เพื่อประโยชน์ทางกฎหมาย เช่น การส่งหมายศาล เป็นต้น1.ให้ถือหลักแหล่งสำคัญของบุคคลนั้น ว่าอาศัยอยู่ที่ใด ซึ่งอาจมีหลายแห่งก็ได้ เช่น ในกรณีที่ผู้นั้นอยู่อาศัยอย่างสับเปลี่ยน (ภูมิลำเนาจึงไม่จำเป็นต้องมีแห่งเดียว)2.ถ้าไม่มีภูมิลำเนาปรากฏ ให้ถือว่าถิ่นอยู่(ที่พบตัว)เป็นภูมิลำเนา3.บุคคลอาจมีภูมิลำเนาเฉพาะการได้ เช่น การย้ายที่อยู่ด้วยคำสั่งราชการ ให้ถือว่า ถิ่นที่อยู่ที่ถูกโยกย้ายไปนั้นเป็นภูมิลำเนา4.บุคคลผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก จะมีภูมิลำเนาที่ทัณฑสถานหรือเรือนจำ********

ความผิดเกี่ยวกับเพศ

ความผิดเกี่ยวกับเพศ
*มาตรา ๒๗๖ ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมืนบาทการ กระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้ กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่นถ้า การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือกระทำกับชาย ในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาทหรือจำคุกตลอดชีวิตถ้า การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำความผิดระหว่างคู่สมรสและคู่สมรส นั้นยังประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติแทนการลงโทษก็ได้ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก และคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป และประสงค์จะหย่าให้คู่สมรสฝ่ายนั้นแจ้งให้ศาลทราบ และให้ศาลแจ้งพนักงานอัยการให้ดำเนินการฟ้องหย่าให้มาตรา ๒๗๗ ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาทการ กระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้ กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่นถ้า การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พัน บาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิตถ้า การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามได้กระทำโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกัน อันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงหรือกระทำกับเด็กชายในลักษณะเดียวกันและเด็ก นั้นไม่ยินยอม หรือได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตความ ผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทำโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีกระทำต่อเด็กซึ่งมีอายุกว่าสิบ สามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำความผิดนั้นไป*มาตรา ๒๗๗ ทวิ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง หรือ มาตรา ๒๗๗ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม เป็นเหตุให้ผู้ถือกระทำ(๑) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สาม หมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต(๒) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตมาตรา ๒๗๗ ตรี ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๗๖ วรรคสาม หรือมาตรา ๒๗๗ วรรคสี่ เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ(๑) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต(๒) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตมาตรา ๒๗๘ ผู้ใดกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับมาตรา ๒๗๙ ผู้ใดกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก ผู้กระทำได้กระทำโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้เด็กนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบห้าปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับมาตรา ๒๘๐ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๗๔ หรือมาตรา ๒๗๙ เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ(๑) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท(๒) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำ คุกตลอดชีวิตมาตรา ๒๘๑ การ กระทำความผิดตามมาตรา ๒๗๖ วรรคแรก และมาตรา ๒๗๘ นั้น ถ้ามิได้เกิดต่อหน้า ธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการกระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ในมาตรา ๒๘๕ เป็นความผิดอันยอมความได้มาตรา ๒๘๒ ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยัง ไม่เกินสิบแปดปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาทถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่บุคคลอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาทผู้ ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น รับตัวบุคคลซึ่งมีผู้จัดหาล่อไป หรือพาไปตามวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณีมาตรา ๒๘๓ ผู้ ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง โดยใช้อุบาย หลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดครองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาทถ้า การกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิตผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น รับตัวบุคคลซึ่งมีผู้จัดหาล่อไป หรือพาไปตามวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณีมาตรา ๒๘๓ ทวิ ผู้ใดพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจาร แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับถ้า การกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับผู้ใดซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพาไปตามวรรคแรกหรือวรรคสองต้องระวางโทษตามที่บัญญัติในวรรคแรกหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณีความผิดตามวรรคแรกและวรรคสามเฉพาะกรณีที่กระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปี เป็นความผิดอันยอมความได้มาตรา ๒๘๔ ผู้ใดพาผู้อื่นไปเพื่ออนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทผู้ใดซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพาไปตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พาไปนั้น ความผิดตามมาตรานี้ เป็นความผิดยอมความได้มาตรา ๒๘๕ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๗๖ มาตรา ๒๗๗ มาตรา ๒๗๗ ทวิ มาตรา ๒๗๗ ตรี มาตรา ๒๗๘ มาตรา ๒๗๙ มาตรา ๒๘๐ มาตรา ๒๘๒ หรือมาตรา ๒๘๓ เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์ หรือในความอนุบาล ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ หรือในสามมาตรา ๒๘๖ ผู้ใดอายุกว่าสิบหกปีดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของผู้ซึ่งค้า ประเวณี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พันบาทหรือจำคุกตลอดชีวิตผู้ ใดไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันปรากฏสำหรับดำรงชีพ หรือไม่มีปัจจัยอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพ และมีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ ให้ถือว่าผู้นั้นดำรงชีพอยู่จากรายได้ของผู้ซึ่งค้าประเวณี เว้นแต่พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจได้ว่ามิได้เป็นเช่นนั้น(๑) อยู่ร่วมกับผู้ค้าประเวณี หรือสมาคมกับผู้ซึ่งค้าประเวณีคนเดียวหรือหลายคนเป็นอาจิณ(๒) กินอยู่หลับนอน หรือรับเงิน หรือประโยชน์อย่างอื่นโดยผู้ซึ่งค้าประเวณีเป็นผู้จัดให้(๓) เข้าแทรกแซงเพื่อช่วยผู้ซึ่งค้าประเวณีในการทะเลาะวิวาทกับผู้ที่คบค้ากับผู้ซึ่งค้าประเวณีนั้นบทบัญญัติแห่งมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับค่าเลี้ยงดูจากผู้ซึ่งค้าประเวณีซึ่งพึงให้ค่าเลี้ยงดูนั้นตามกฎหมายหรือตามธรรมจรรยามาตรา ๒๘๗ ผู้ใด(๑) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้าเพื่อการแจกจ่าย หรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้า หรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก(๒) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่ง ของลามกดังกล่าวแล้ว จ่ายแจกหรือแสดงออกแก่ประชาชน หรือให้เช่าวัตถุหรือสิ่งของเช่นว่านั้น(๓) เพื่อจะช่วยกี่ทำให้แพร่หลาย หรือการค้าวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้วโฆษณาหรือไขข่าวโดยประการใดๆ ว่ามีบุคคลกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือโฆษณาหรือไขข่าววัตถุ หรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุคคลใดหรือโดยวิธีใดต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายอาญา

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กฎหมายอาญา
กฎหมายอาญา1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน2. ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด3. โทษทางอาญามี 5 ชนิด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน4. การกระทำความผิดทางอาญามีบางกรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด5. เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาจได้รับโทษต่างกับการกระทำความผิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบ การลงโทษต้องคำนึงถึงอายุของเด็กกระทำความผิดกฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้นทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ1. ความผิดทางอาญาความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดินกรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้นกรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋ เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้2. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา2.1 เป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง ในขณะกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า “การลักทรัพย์เป็นความผิด” ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน2.2 เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง เป็นโทษไม่ได้แต่เป็นคุณได้ ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิด ก็จะนำกฎหมายใหม่ใช้กับผู้กระทำผิดคนแรกไม่ได้กรณีตัวอย่าง นายมะม่วงมีต้นไม้สักขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นในที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา นายมะม่วงได้ตัดต้นสัก เลื่อยแปรรูปเก็บเอาไว้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 3 ออกมาบังคับใช้ ถือว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามก็ตาม นายมะม่วงก็ไม่มีความผิด เพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาไม่ได้3. โทษทางอาญา1) ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย2) จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ3) กักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ4) ปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน5) ริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน ให้ริบ ฯลฯ4. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใดบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ4.1 กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นกรณีตัวอย่างที่ 1 นายฟักรู้ว่านายแฟง ซึ่งเป็นศัตรูจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามคลองหลังวัดสันติธรรมทุกเช้าเวลาประมาณ 08.00 น. เขาจึงไปดักซุ่มอยู่ใกล้บริเวณนั้น เมื่อนายแฟงเดินมาใกล้นายฟักจึงใช้ปืนยิงไปที่นายแฟง 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าอกของนายแฟง เป็นเหตุให้นายแฟงถึงแก่ความตาย นายฟักมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนากรณีตัวอย่างที่ 2 ดาวเรืองทะเลาะกับบานชื่น ดาวเรืองพูดเถียงสู้บานชื่นไม่ได้ ดาวเรืองจึงตบปากบานชื่น 1 ที่ ดาวเรืองมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา4.2 กระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิดแม้กระทำโดยไม่เจตนากระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ เช่น เราผลักเพื่อนเพียงจะหยอกล้อเท่านั้น แต่บังเอิญเพื่อนล้มลงไป ศีรษะฟาดขอบถนนถึงแก่ความตาย เป็นต้น4.3 กระทำโดยประมาท แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทการกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่กรณีตัวอย่าง นายเหิรฟ้าใช้อาวุธปืนขู่นายเหิรลม เพื่อไม่ให้เอาแป้งมาป้ายหน้านายเหิรฟ้า โดยที่นายเหิรฟ้าไม่รู้ว่าอาวุธปืนกระบอกนั้น มีลูกกระสุนปืนบรรจุอยู่ เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกนายเหิรลมตาม นายเหิรฟ้ามีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายอนึ่ง “การกระทำ” ไม่ได้หมายความเฉพาะถึงการลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการงดเว้นการกระทำโดยประสงค์ให้เกิดผลและเล็งเห็นผลที่จะเกิดเช่น แม่จงใจทิ้งลูกไม่ให้กินข้าว จนทำให้ลูกตาย ตามกฎหมายแม่มีหน้าที่จะต้องเลี้ยงดูลูก เมื่อแม่ละเลยไม่ทำหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ลูกตาย ย่อมเป็นการกระทำความผิดโดยงดเว้น ถ้าการงดเว้นนั้นมีเจตนางดเว้นก็ต้องรับผิดในฐานะกระทำโดยเจตนา ถือว่าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาบุคคลจะต้องได้รับโทษทางอาญาต่อเมื่อ1. การกระทำอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีความผิดโดยปราศจากกฎหมาย”2. กฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นต้องกำหนดโทษไว้ด้วย เป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย” การลงโทษต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น กฎหมายกำหนดโทษปรับศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ แม้ศาลจะลงโทษปรับศาลก็ลงโทษปรับเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้กรณีตัวอย่าง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 บัญญัติว่า ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานหรือกระทำโดยประการอื่นใด ให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถานต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ดังนั้น ถ้าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ เพราะความผิดตามมาตราดังกล่าวกำหนดเฉพาะโทษปรับเท่านั้น ถ้าศาลจะลงโทษปรับก็จะปรับได้ไม่เกิน 500 บาท5. เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษโดยหลักทั่วไปแล้วบุคคลใดกระทำความผิดต้องรับโทษ แต่มีบางกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษ เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษนั้น เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษผู้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด หมายความว่า ผู้กระทำยังมีความผิดอยู่แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ต่างกับกรณียกเว้นความผิด ซึ่งผู้กระทำไม่มีความผิดเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามทั้งเหตุยกเว้นและหยุดยกเว้นความผิดต่างก็มีผลทำให้ผู้กระทำรับโทษเหมือนๆกันเหตุยกเว้นโทษทางอาญา การกระทำความผิดอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เช่น1. การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น2. การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต3. การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา4. การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน5. สามีภริยากระทำความผิดต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐาน6. เด็กอายุไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด6. เด็กและเยาวชนกระทำความผิดเด็กอาจกระทำความผิดได้เช่นเดียวผู้ใหญ่ แต่การกระทำความผิดของเด็กอาจได้รับโทษต่างจากการกระทำของผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบหรือขาดความรู้สึกสำนึกเท่าผู้ใหญ่ การลงโทษเด็กจำต้องคำนึงถึงอายุของเด็ก ผู้กระทำความผิดด้วย กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปีสำหรับเด็กในช่วงอายุไม่เกิน 7 ปี และเด็กอายุกว่า 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปีเท่านั้น ที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ส่วนผู้ที่อายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี และผู้ที่มีอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี หากกระทำความผิดกฎหมายก็จะไม่ยกเว้นโทษให้ เพียงแต่ให้รับลดหย่อนโทษให้6.1 เด็กอายุไม่เกิน 7 ปีการกระทำความผิด เด็กไม่ต้องรับโทษเลย ทั้งนี้เพราะกฎหมายถือว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ ฉะนั้นจะมีการจับกุมฟ้องร้อยเกในทางอาญามิได้6.2 เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด เด็กนั้นก็ไม่ต้องรับโทษเช่นกัน แต่กฎหมายให้อำนาจศาลที่จะใช้วิธีการสำหรับเด็ก เช่น1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป2) เรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้3) มอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย4) มอบเด็กให้แก่บุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ เมื่อเขายอมรับข้อกำหนดที่จะระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย5) กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ6) มอบตัวเด็กให้กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควร เพื่อดูและอบรมและสั่งสอนเด็กในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม7) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรม6.3 เยาวชนอายุเกิน 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้นในอันควร วินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ศาลอาจใช้วิธีการตามข้อ 6.2 หรือลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยลดมาตราส่วนโทษที่จะใช้กับเยาวชนนั้นลงกึ่งหนึ่ง ก่อนที่จะมีการลงโทษเยาวชนผู้กระทำความผิด6.4 เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กระทำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้จะเห็นได้ว่า ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กฎหมายไม่ถือว่าเป็นเด็ก แต่กฎหมายก็ยอมรับว่า บุคคลในวัยนี้ยังมีความคิดอ่านไม่เท่าผู้ใหญ่จริง จึงไม่ควรลงโทษเท่าผู้ใหญ่กระทำความผิด โดยให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะพิจารณาว่า สมควรจะลดหย่อนผ่อนโทษให้หรือไม่ ถ้าศาลพิจารณาสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับผู้กระทำความผิด เช่น ความคิดอ่าน การศึกษาอบรม ตลอดจนพฤติการณ์ในการกระทำความผิด เช่น กระทำความผิดเพราะถูกผู้ใหญ่เกลี้ยกล่อม หากศาลเห็นสมควรลดหย่อนผ่อนโทษให้ก็มีอำนาจลดมาตราส่วนโทษได้ 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งการลดมาตราส่วนโทษ คือ การลดอัตราโทษขั้นสูงและโทษขั้นต่ำลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งแล้ว จึงลงโทษระหว่างนั้น แต่ถ้ามีอัตราโทษขั้นสูงอย่างเดียวก็ลดเฉพาะอัตราโทษขั้นสูงนั้น แล้วจึงลงโทษจากอัตราที่ลดแล้วนั้นกรณีตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2516 จำเลยอายุ 19 ปี ยอมมีความรู้สึกผิดชอบน้อย ได้กระทำความผิดโดยเข้าใจว่าผู้ตายข่มเหงน้ำใจตน ศาลเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษลง 1 ใน 3สรุปสาระสำคัญ1. กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด2. ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ3. การกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดอันยอมความกันได้4. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง หรือเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง5. โทษทางอาญา มี 5 ชนิด1. ประหารชีวิต 2. จำคุก3. กักขัง 4. ปรับ5. ริบทรัพย์สิน6. กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น7. กระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้8. การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่9. กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี

กฎหมายแพ่ง

เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
กฎหมายแพ่ง

กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเอกชนว่าด้วยสิทธิ หน้าที่และความเกี่ยวข้องระหว่างเอกชนต่อเอกชนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
“กฎหมายแพ่ง” ของไทยเราบัญญัติในรูปของประมวลกฎหมาย รวมกับ “กฎหมายพาณิชย์“ เรียกว่า “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” เขียนเป็นอักษรย่อว่า ป.พ.พ. มีอยู่ทั้งหมด 6 บรรพหรือ 6 ตอน
บรรพ 1 หลักทั่วไป
บรรพ 2 หนี้
บรรพ 3 เอกเทศสัญญา
บรรพ 4 ทรัพย์สิน
บรรพ 5 ครอบครัว
บรรพ 6 มรดก
กฎหมายว่าด้วยบุคคล
บุคคล คือสิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. บุคคลธรรมดา
หมายถึง คนหรือมนุษย์เรานี่เอง กฎหมายกำหนดให้บุคคลธรรมดามีสภาพบุคคลตั้งแต่เมื่อคลอดออกจาก
ครรภ์มารดาและมีชีวิตอยู่รอดเป็นทารก กล่าวคือเริ่มมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายและจำมีอยู่เรื่อย ๆ ไปจนกระทั่งสิ้นสภาพบุคคลคือตาย หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญในเมื่อผู้นั้นหายไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หลายปีตามที่กฎหมายกำหนด
ปัญหาที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลธรรมดาอยู่ที่ว่า บุคคลนั้นมีความสามารถทำนิติกรรมสัญญาผูกพันทรัพย์สินของตนเองได้เพียงใด มีกฎหมายจำกัดหรือตัดทอดความสามารถของบุคคลไว้อย่างไรบ้างหรือไม่
บุคคลที่กฎหมายจำกัดตัดทอนความสามารถ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ มี 3 ประเภทคือ
1. ผู้เยาว์
2. คนไร้ความสามารถ
3. คนเสมือนไร้ความสามารถ




สำหรับคนไร้ความสามารถและคนเสมือไร้ความสามารถนั้น เป็นคนวิกลจริตหรือหย่อนความสามารถเพราะ
สภาพร่างกายพิการหรือจิตใจไม่ปกติ และศาลได้มีคำสั่งให้บุคคลเหล่านั้นมีสถานะดังกล่าว และกำหนดให้มีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาในขอบเขตจำกัด ซึ่งทางปฎิบัติแล้วไม่มีปัญหาเพราะไม่ค่อยจะมีบุคคลเหล่านี้ตามคำสั่งศาลเท่าไรนัก และท่าจะศึกษาโดยละเอียดในระดับสูงต่อไป
ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่อ่อนอายุ หย่อนความรู้สึกผิดชอบ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์อาจบรรลุนิติภาวะได้ 2 กรณีคือ
1. โดยอายุ กล่าวคือ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
2. โดยการสมรส กล่าวคือ เมื่อผู้เยาว์อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์และได้ทำการสมรสกัน(จดทะเบียนสมรส) บุคคลนั้นก็พ้นจากภาวะผู้เยาว์เป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะ
โดยปกติผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้อง ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม คือ บิดามารดาก่อน มิฉะนั้นสิ่งที่ทำไปจะตกเป็นโมฆียะ ดังนั้นกิจการดังกล่าวบิดามารดาจึงเป็นผู้จัดการแทนผู้เยาว์เป็นส่วนมาก
นิติกรรมดังต่อไปนี้ผู้เยาว์สามารถทำได้เองและมีผลสมบูรณ์ คือ
1. นิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว เช่น เขาให้ที่ดินแก่ผู้เยาว์โดยเสน่หา ผู้เยาว์รับการให้ได้เอง
2. นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น การรับรองบุตร กล่าวคือ ผู้เยาว์ที่เป็นชายมีบุตรกับหญิงซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เยาว์สามารถจดทะเบียนรับรองเด็กว่าเป็นบุตรของตนได้เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัว
3. นิติกรรมที่จำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้เยาว์ ซึ่งต้องเป็นการเลี้ยงชีพจริง ๆ และสมแก่ฐานะของผู้เยาว์ เช่น ซื้ออาหาร เครื่องนุ่งห่มหลับนอน หนังสือตำราเป็นต้น
4. ผู้เยาว์อาจทำนินัยกรรมกำหนดทรัพย์สินของตนก่อนตายได้ เมื่อมีอายุครบ 15 ปี

2. นิติบุคคล
นิติบุคคล หมายถึง บุคคลตามกฎหมาย กล่าวคือ คณะบุคคล หน่วยงาน กองทรัพย์สิน หรือกิจการอันใดอันหนึ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรืออนุญาตให้จัดตั้งขึ้นมีฐานะเป็นบุคคล เช่น กระทรวง ทบวง กรม วัดวาอาราม สมาคม มูลนิธิ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายรับรองให้มีสภาพอย่างบุคคลธรรมดา เช่น สามารถเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือเป็นโจทก์ เป็นจำเลย เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ เว้นแต่สิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งว่าโดยสภาพแล้ว จะพึงมีพึงได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น นิติบุคคลจะทำการสมรสหรือเป็นสามีภรรยาหรือรับบุตรบุญธรรมไม่ได้ เป็นต้น
ผู้แทนของนิติบุคคลที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล เช่น
1. กระทรวงและทบวง มีรัฐมนตรี เป็นผู้แทน
2. กรม มีอธิบดี เป็นผู้แทน
3. จังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้แทน
4. วัดวาอาราม มีเจ้าอาวาส เป็นผู้แทน
5. บริษัทจำกัด มีกรรมการ เป็นผู้แทน
6. ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีกรรมการ เป็นผู้แทน
7. สมาคม มีหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นผู้แทน
8. มูลนิธิ มีคณะกรรมการ เป็นผู้แทน
9. เทศบาล มีนายกเทศมนตรี เป็นผู้แทน

ความรับผิดชอบเด็กและเยาวชนในทางแพ่ง
ตามหลักกฎหมายแพ่ง โดยปกติผู้เยาว์ไม่สามารถทำนิติกรรมสัญญาที่สำคัญ ๆ ใด ๆ ได้ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ทางปฏิบัติจึงไม่ค่อยเกิดปัญญาในเรื่องความรับผิดของผู้เยาว์ในหนี้สินที่มีมูลนี้อันเกิดจากนิติกรรมสัญญา
มูลหนี้ที่ผู้เยาว์อาจจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่อาจพบได้ก็คือ มูลหนี้หรือหนี้สินอันเกิดจากการกระทำ “ละเมิด” ของผู้เยาว์คือด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ผู้เยาว์กระทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ความรับผิดทางแพ่ง ไม่มีกฎหมายยกเว้นให้ผู้เยาว์ไม่ต้องรับผิดหรือรับผิดน้อยลง เช่นความรับผิดทางอาญาแต่อย่างใด

การบังคับคดีทางแพ่ง
ทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ย่อมผูกพันที่จะถูกบังคับนำมาชำระหนี้ กล่าวคือ เมื่อลูกหนี้ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว หนี้นั้นย่อมผูกพันกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งหมด กองทรัพย์ดังกล่าวนี้อาจจะเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วในขณะที่ก่อให้เกิดหนี้ หรืออาจเป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้จะได้มาในอนาคต รวมทั้งเงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย แต่เจ้าหนี้ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) มีสิทธิ์ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้เพียงเท่าที่พอจะชำระหนี้แก่ตน จะยึดเกิดกว่าที่จำเป็นจะต้องชำระหนี้แก่ตนมิได้ และการยึดทรัพย์จะต้องกระทำโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาลเท่านั้น เจ้าหนี้จะทำการยึดทรัพย์ลูกหนี้เองไม่ได้

ข้อยกเว้นการยึดทรัพย์ของลูกหนี้
1. ห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดทรัพย์สินบางอย่างของลูกหนี้ เช่น เครื่องนุ่งห่มหลับนอน หรือเครื่องใช้ในครัวเรือนโดยประมาณรวมกันไม่เกิน 5,000 บาท เครื่องมือหรือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพ เช่น เลื่อย ค้อนของช่างไม้ หรือจักรเย็บผ้าของช่างตัดเสื้อผ้า เป็นต้น โดยประมาณราไม่เกิน 10,000 บาท หรือเงินเดือนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการจะยึดไม่ได้ (เงินเดือนของลูกจ้างเอกชนยึดได้)
2. ห้ามมิให้เจ้าหนี้ยึดเครื่องมือในการประกอบกสิกรรมตามสมควรของกสิกร เช่น เครื่องสูบน้ำ รถไถนาที่ใช้ในการทำไร่นา เป็นต้น
ถ้าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ เจ้าหนี้จะบังคับลูกหนี้ให้ทำการงานแทนการชำระหนี้ หรือให้ตรวจจับเอาตัวไปคุมขังไม่ได้ จึงอาจพูดได้ง่าย ๆ ได้ว่าหนี้สินทางแพ่งไม่ว่าจะมีมากสักเท่าไร เจ้าตัวจะเอาตัวลูกหนี้มากักขัง จำคุก หรือให้ทำการงานแทนการชำระหนี้ไม่ได้


ตารางแสดงข้อแตกต่างระหว่างความผิดทางอาญากับทางแพ่ง

ทางอาญา
ทางแพ่ง

1. เป็นการกระทำความเดือดร้อนแก่แผ่นดิน หรือก่อให้เกิดความหวั่นเกรงกลัวแก่ประชาชนทั่วไป

1. เป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกันเองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นเท่านั้น

2. เมื่อผู้กระทำผิดตายลง การฟ้องร้องย่อมระงับไป (โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด)

2. เป็นเรื่องของการชดใช้ค่าเสียหาอันเกี่ยวกับกองทรัพย์สินเมื่อลูกหนี้ตายไปปกติฟ้องเรียกร้องเอาจากกองมรดกได้
3. ความผิดทางอาญาถือเอาเจตนาเป็นใหญ่ (เว้นแต่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท)
3. ความผิดทางแพ่งถือเอาความผิดตามตัวบทกฎหมาย จะมีเจตนาหรือไม่ไม่สำคัญ เพราะเป็นการชดใช้ค่าเสียหาย

4. ตีความโดยเคร่งครัด ไม่มีกฎหมายชัดแจ้งย่อมไม่มีการลงโทษ

4. การตีความโดยเคร่งครัดไม่มี ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณี เพราะเป็นเรื่องค่าสินไหมทดแทน

5. เป็นโทษที่จะลงแก่เนื้อตัวของผู้กระทำความผิด เช่น ประหารชีวิต จำคุกหรือกักขัง เป็นต้น

5. ถูกบังคับให้ใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น เน้นที่ตัวทรัพย์สิน

6. โดยมากความผิดอาญาไม่อาจยอมความได้ เว้นแต่ ความผิดต่อส่วนตัว

6. ผู้เสียหายจะยกเว้นความรับผิดให้เมื่อใดก็ได้ตกลงกันเองได้

7. บุคคลที่เข้าร่วมกระทำ อาจมีความรับผิดมากน้อย
แตกต่างกัน เช่น ในฐานะตัวการหรือผู้สนับสนุนเป็นต้น

7. ขึ้นอยู่กับมูลเหตุที่ก่อให้เกิดหนี้ ซึ่งอาจเป็นหนี้ร่วมอันจะต้องรับผิดร่วมกันทั้งหมด

8. การลงโทษผู้กระทำผิดเพื่อที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแกสังคมเป็นส่วนรวม

8.บำบัดความเสียที่เกิดขึ้นแก่เอกชนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ

กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ...ที่ควรทำความรู้จัก
1. การทะเบียนราษฎร์ บุตรเกิด ถ้าเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าเกิดนอกบ้าน ให้มารดาแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด ชื่อบุตร ให้เจ้าบ้าน บิดา หรือมารดาแล้วแต่กรณี แจ้งชื่อบุตรพร้อมกับการแจ้งเกิด ถ้าจะเปลี่ยนชื่อให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันแจ้งชื่อครั้งแรก ย้ายบ้าน ให้ผู้ย้ายหรือผู้ที่เจ้าบ้านมอบอำนาจแจ้งออกจากบ้านเดิมภายใน 15 วัน และเมื่อไปอยู่บ้านใหม่ให้แจ้งภายใน 15 วันเช่นกัน คนตาย ถ้าในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าตายนอกบ้านให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้ที่พบศพเป็นผู้แจ้ง ภายใน 24 ช.ม. นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ แจ้งที่ไหน กรณีบุตรเกิด ตั้งชื่อบุตร ย้ายบ้านหรือคนตาย ให้แจ้งดังนี้ ในเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักงานท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาล นอกเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล (บ้านกำนัน) หรือสำนักทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง (เช่น เขตกรมทหาร) ความผิด ถ้าไม่แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท ถ้าไม่แจ้งการตายภายในเวลามีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
2. บัตรประจำตัวประชาชน คนไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 70 ปี บริบูรณ์ ต้องไปขอทำบัตรที่อำเภอหรือที่ว่าการเขตภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่อายูครบ 15 ปีบริบูรณ์ บัตรประจำตัวประชาชนชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่บัตรเดิมชำรุดหรือสูญหาย (ต้องไปแจ้งบัตรหายที่สถานีตำรวจ) อายุของบัตร กำหนดใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตรต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นอายุ ณ อำเภอท้องที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ความผิด ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้ในเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ มีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท ผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอมีบัตร โดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย มีโทษปรับไม่เกิน 2.000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่ยื่นคำร้องขอมีบัตรภายในกำหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
3. การรับราชการทหาร กำหนดเวลาแสดงตนลงบัญชีทหารกองเกิน ชายไทยอายุย่างเข้า 18 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในเดือนพฤศจิกายนของปีที่อายุย่างเข้า 18 ปี สถานที่แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน คือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่เป็นภูมิลำเนาทหาร
4. การรักษาความสะอาด ห้ามขีดเขียน วาดรูปวาดภาพบนรั้วผนังอาคาร ต้นไม้ หรือสิ่งใดใสที่สาธารณะ หรือเห็นได้จากที่สาธารณะนั้น ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท ห้ามติดตั้ง ตาก วางหรือแขวนสิ่งใดๆ ในที่สาธารณะหรือมองเห็นได้จากที่สาธารณะโดยไม่บังควรหรือทำให้มองดูแล้วไม่เป็นระเบียบเรัยบร้อย ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับ 200 บาท ห้ามบ้วน สั่งหรือถ่มน้ำลาย น้ำมูก น้ำหมาก เสมหะหรือทิ้งสิ่งใดๆ ลงบนท้องถนน พื้นรถ หรือเรือสาธารณะ โรงมหรสพ ร้านค้า หรือที่สาธารณะ ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
5. การเรี่ยไร ผู้ทำการเรี่ยไร ต้องมีใบอนุญาตให้ทำการเรี่ยไรติดตัวและต้องออกใบรับให้ผู้บริจาค
6.หนังสือมอบอำนาจ การมอบอำนาจ เป็นการตั้งตัวแทนเพื่อทำการสำหรับการมอบอำนาจให้กระทำ การเกี่ยวกับที่ดินเป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้หนังสือมอบอำนาจของกรมที่ดิน
7. เอกเทศสัญญา กู้ยืม การกู้ยืมเงินกันเกินกว่าห้าสิบบาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริงและต้องลงลายมือชื่อผู้กู้ด้วย กฎหมายให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 บาทต่อปี การจำนอง คือการกู้ยืมโดยมีทรัพย์สิน เป็นประกัน โดยทั่วไปได้แก่ ที่ดิน บ้านพร้อมที่ดิน เรือยนต์ (5 ตันขึ้นไป) สัตว์พาหนะ ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ความ หรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะกาล โดยทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้จำนอง การจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่าซื้อ ต้องทำเป็นหนังสือและปิดอากรแสตมป์ เว้นแต่เช่าซื้อเครื่องมือการเกษตรไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ เช่าทรัพย์ เช่าบ้านหรือที่ดินไม่เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่าและผู้ให้เช่า หากเกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
8. กฎหมายที่ดิน เมื่อโฉนดใบจองหรือ นส.3 ชำรุด สูญหายหรือเป็นอันตราย ต้องติดต่ออำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน เพื่อขอออกใบใหม่หรือใบแทน มิฉะนั้นผู้อื่นที่ได้หนังสือสำคัญไปอาจนำไปอ้างสิทธิ ทำให้เจ้าของเดิมเสียประโยชน์ได้ ที่ดินมือเปล่า เจ้าของควรดูแลรักษาให้ดี อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า หากมีผู้ครอบครองก็หาทางไล่ออกไปเสีย มิฉะนั้นเจ้าของจะเสียสิทธิไป นอกจากนี้ หากไม่มี ส.ค.1 ก็ควรหาทางขอ น.ส.3 แล้วต่อไปก็ขอให้มีโฉนดเสียให้เรียบร้อย เพราะทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้นและปลอดภัยจากการเสียสิทธิมากขึ้น ที่ดินมีโฉนด อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างหรือให้คนอื่นครอบครองไว้นานๆ อาจเสียสิทธิได้เช่นกัน การทำนิติกรรม ต้องทำให้สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยทำที่อำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน
9. อาวุธปืน ผู้ที่ประสงค์จะขอมีอาวุธปืน เพื่อใช้หรือเก็บไว้ป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน ให้ยื่นคำร้องขอตามแบบ ป.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้บังคับการกองทะเบียนกรมตำรวจ จังหวัดอื่นๆ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนท้องที่จังหวัด การแจ้งย้ายอาวุธปืน เมื่อผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนย้ายภูมิลำเนา ต้องแจ้งย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันย้าย และถ้าย้ายไปต่างท้องที่ให้แจ้งการย้ายต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายไปถึงอีกด้วย การรับมรดกปืน เป็นหน้าที่ของทายาทหรือผู้ครอบครอง ต้องไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันทราบการตายและยื่นคำร้องขอรับมรดกอาวุธปืนนั้นต่อไป ใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดอ่านไม่ออก ให้ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบเหตุ อาวุธปืนหายหรือถูกทำลาย ให้เจ้าของแจ้งเหตุพร้อมด้วยหลักฐานและส่งมอบใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนอยู่ หรือนายทะเบียนท้องที่ที่เกิดเหตุภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบเหตุ *ความผิดและโทษของอาวุธปืน มีและพกอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 20,000 บาท พกพาอาวุธปืน ติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้พก เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดพกพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปที่ชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาทแม้ว่าผู้นั้นจะได้รับอนุญาตพกพาอาวุธปืนหรือกรณีเร่งด่วนก็ตาม

กฎหมาย

กฏหมาย
#ความหมายของกฏหมาย

#


ในฐานะที่เราเป็นพลเมืองของประเทศชาติ ถือเป็นสมาชิกของสังคม มีความจำเป็นต้องเรียนรู้กฏหมาย ก็เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมและความอยู่รอดของคนในสังคม กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและวิถีการดำเนินชีวิตก็ยิ่งมีความสำคัญ เพราะความเป็นธรรม ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นในสังคมก็ต่อเมื่อมนุษย์ได้ใช้กฏหมายเป็นบรรทัดฐานในการตกลง ตัดสินข้อพิพาท การแจกจ่ายและการได้มาอย่างมีกฏเกณฑ์และเป็นที่ยอมรับของสังคมความหมายของกฏหมาย
ได้มีผู้ให้ความหมายของกฏหมายไว้ดังนี้
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฏหมายไทย "กฏหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตาม ธรรมดาต้องลงโทษ"
ดร.สายหยุด แสงอุทัย"กฏหมาย คือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ"
กฏหมาย สามารถแยกได้เป็น 2 คำคือ คำว่ากฏซึ่งแผลงมาจากคำว่า กด หรือกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายและถูกลงโทษ
จากคำจำกัดความของกฏหมายข้างต้น สามารถสรุปความหมายของกฏหมายได้ว่า หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือประเทศ ได้กำหนดมาเพื่อใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองหรือบังคับความประพฤติของประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฏหมาย
กลับข้างบน
ลักษณะสำคัญของกฏหมาย
กฏหมายมีลักษณะสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1.กฏหมายมีลักษณะเป็นข้อบังคับ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
บังคับไม่ให้กระทำ เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามทำร้ายร่างกาย ห้ามเสพสิ่งเสพย์ติด
บังคับให้กระทำ เช่น ประชาชนชาวไทยเมื่อมีอายุ 15 ปี ต้องมีบัตรประจำตัวประชาขน ผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีอากร เป็นต้น
2. กฏหมายมีลักษณะเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดมีขึ้นโดยผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ เช่น ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ออกกฏหมาย ส่วนประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีรัฐสภาเป็นผู้ออกกฏหมาย และพระราชบัญญัติ มีรัฐบาลเป็นผู้ออกพระราชกำหนด พระราชกฤษฏีกาและกฏกระทรวง
3. กฏหมายจะต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้กับบุคคลทุกคนในรัฐโดยไม่มีข้อยกเว้น อย่างเสมอภาคไม่ว่าคนนั้นจะถือสัญชาติใดก็ตาม
4. กฏหมายมีผลบังคับใช้ตลอดไป จนกว่าจะมีคำสั่งยกเลิก
5. ผู้ใดฝ่าฝืนกฏหมายต้องได้รับโทษ การปฏิบัติตามกฏหมายไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของผู้ปฏิบัติ แต่เกิดจากการถูกบังคับ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน ได้แก่
ความผิดทางอาญากำหนดโทษไว้ 5 สถาน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน
วิธีการเพื่อความปลอดภัย เป็นมาตรการเพื่อให้สังคมปลอดภัยจากการกระทำของผู้กระทำผิดที่ติดเป็นนิสัยไม่มีความเข็ดหลาบ โดยไม่ถือว่าเป็นโทษทางอาญา ตามประมวลกฏหมายอาญากำหนดไว้ 5 ประการ คือ การกักกัน ห้ามเข้าเขตกำหนด เรียกประกันทัณฑ์บน คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล และห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง
กฏหมายต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ คือ กฏหมายที่บัญญัติออกมาต้องมาจากรัฐที่มีเอกราช
พนักงานของรัฐเป็นผู้บังคับให้เป็นไปตามกฏหมาย หมายความว่า เมื่อมีการกระทำผิดที่ฝ่าฝืนกฏหมาย จะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิด ผู้เสียหายจะแก้แค้นหรือลงโทษกันเองไม่ได้บุคคลเหล่านี้ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้พิพากษา เป็นต

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันวิสาขบูชา

ความหมายวันวิสาขบูชา มายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะหรือเดือน ๖ เนื่องในโอกาสวันประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ความสำคัญพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานเวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ จึงถือว่าเป็นวันที่สำคัญของพระพุทธเจ้า หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากกาประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ ๔ และความไม่ประมาท
ประสูติ พระเจ้าสุทโธทนะมีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า มหามายาเทวี ทั้งสองพระองค์ทรงอยู่ร่วมกันมาด้วยความผาสุก จนกระทั่งพระเทวีทรงมีพระครรภ์ เมื่อพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับที่กรุงเทวทหะเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ก็เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมสมัยนั้น ๑ พระเทวีเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยข้าราชบริพารในเวลาเช้า ของวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เมื่อขบวนเสด็จผ่านมาถึงสวนลุมพินี ๒ อันตั้งอยู่กึ่งกลางทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะต่อกัน พระนางทรงมีพระประสงค์จะประพาสอุทยาน ข้าราชบริพารจึงเชิญเสด็จแวะไปประทับพักผ่อนอิริยาบถใต้สาละ ๓ ขณะประทับอยู่ที่สวนลุมพินีนั้น พระนางได้ประสูติ พระโอรสภายใต้ต้นสาละ เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทราบข่าวประสูติ จึงตรัสสั่งให้เชิญเสด็จ พระนางพร้อมด้วยพระราชกุมารกลับคืนกรุงกบิลพัสดุ์โดยด่วน สวนลุมพินีข่าวประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส๔ ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย ดาบสท่านนี้มีความคุ้นเคยกับราชสำนักของพระเจ้าสุทโธทนะ พอทราบข่าวประสูติของพระราชกุมาร ดาบสจึงลงจากเขาเข้าไปเยี่ยมเยียนราชสำนัก ท่านมีความรู้เกี่ยวกับการทำนายมหาปุริสลักษณะ พอเป็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย"๕ แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส